top of page

About Us

4U1A3889.jpg

ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานพยาบาล ซึ่งได้แก่ โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย คลินิก ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชนจำนวนมากกว่า 37,000 แห่ง ซึ่งมีจำนวนเตียงประมาณ 140,000 เตียง สถานพยาบาลดังกล่าวมีการผลิตของเสียทั้งที่เป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยติดเชื้อในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก มูลฝอยจากสถานพยาบาลเหล่านี้จัดเป็นของเสียอันตรายเนื่องจากมีทั้งมูลฝอยติดเชื้อที่สามารถแพร่เชื้อโรคได้รวมทั้งของเสียที่ปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสี ยาเสื่อมสภาพ สารเคมีอันตราย ของมีคม ซากสัตว์ทดลอง ฯลฯ และโดยที่สถานพยาบาลส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการเก็บรวบรวมและกำจัดให้ถูกต้อง มูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลดังกล่าวจึงได้ถูกทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมปะปนร่วมกับมูลฝอยชุมชนเพิ่มมากขึ้นทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคซึ่งมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนโดยเฉพาะสุขภาพอนามัยของ
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเก็บขนหรือผู้ทำงานในสถานที่กำจัดซึ่งได้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคพยาธิหรือแม้แต่การติดเชื้อโรคเอดส์รวมทั้งการเกิดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโรคทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองทั่วไป

บริการจัดการของเสียทางการแพทย์ครบวงจร

4U1A3820N.jpg

พาหนะสำหรับขนส่งของเสียทางการแพทย์

1. รถขนส่งได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
- ใบอนุญาตมีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายเพื่อการขนส่ง (วอ.8) 
- ใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2 และ 4
2. ใช้เอกสารควบคุมการขนส่ง “Manifest” 
3. มีระบบติดตามการเดินรถขนส่งด้วยระบบ GPS
4. รถขนส่งเป็นรถที่มีการควบคุมอุณหภูมิตามที่กฎหมายกำหนด

5. รถขนส่งจะได้รับการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อหลังการขนส่งทุครั้ง

6. รถทุกคันจะมีอุปกรณ์ป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินและกล่องปฐมพยาบาล  เบื้องต้น
7. พื้นของบริเวณที่จอดรถ มีความลาดไหล และมีคันกั้นเพื่อป้องกันของเสีย  รั่วไหลกระจายออกไป และมีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยที่เหมาะสมจัดเก็บใน      สถานที่ที่สะดวกในการใช้งาน
 

4U1A3790.jpg

พนักงานปฏิบัติการ (ผู้เก็บขนของเสียทางการแพทย์)

1. ผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจ  เกิดากมูลฝอยติดเชื้อ
2. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด

3. ได้รับใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2และ4

4. พนักงานปฏิบัติการทุกคนจะมีตารางจัดเก็บตามเส้นทางที่รับผิดชอบในแต่ละวันอย่างชัดเจนเพื่อประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการเข้าจัดเก็บ 

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมผู้ควบคุมการเก็บขนของเสียทางการแพทย์

1. วุฒิการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต
2. ผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจ  เกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ

3. ผ่านการฝึกอบรมการรับเหตุฉุกเฉินกรณีสารเคมีอันตราย หกล้น รั่วไหล

4. สามารถจัดการปัญหากรณีเกิดปัญหานอกเหนือการตัดสินใจของ  พนักงานปฏิบัติการ

bottom of page